ประโยชน์หรือคุณลักษณะของระบบสารสนเทศ
คุณลักษณะของสินค้าบริการท่องเที่ยว
สินค้าบริการท่องเที่ยวเป็นสินค้าที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศเป็นพื้นฐาน การจอง การสั่งซื้อจะเน้นความถูกต้องของสารสนเทศซึ่งจะนำไปสู่การได้มาซึ่งสินค้าและบริการทางกายภาพที่ต้องการ เช่น การซื้อตั๋วเครื่องบิน นักท่องเที่ยวจะเริ่มจากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับที่นั่ง เที่ยวบิน ตารางเวลา และราคา หลังจากนั้นจึงจะมีกิจกรรมต่อเนื่องได้แก่ การจอง การยืนยันการสั่งซื้อ การตกลงสั่งซื้อ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรายการก็จะทำการเปลี่ยนแปลงที่ตัวข้อมูลและสารสนเทศก่อนที่จะไปถึงตัวสินค้าและบริการ สินค้าและบริการท่องเที่ยวมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากสินค้าทางกายภาพชนิดอื่นหลายประการ เช่น











ผลกระทบของ ICT ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร กระบวนการดำเนินธุรกิจ การทำงานภายใน การเปลี่ยนแปลงบทบาททางธุรกิจความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้ขาย เปลี่ยนแปลงการนำเสนอสินค้าและบริการ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร การพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดการปฏิวัติโครงสร้างของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและมีผลกระทบต่อตัวกลางการท่องเที่ยวโดยตรง เพราะผู้จัดหาสินค้าบริการท่องเที่ยวสามารถขายตรงไปยังผู้บริโภค ตัวกลางที่เชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคและผู้จัดหาต้องเผชิญกับปัญหาการตัดตัวกลางหรือถูกทดแทนด้วยตัวกลางออนไลน์ ปัญหาการตัดตัวกลาง (Disintermediation) และการปรับเปลี่ยนตัวกลาง (Reintermediation)ได้มีการกล่าวถึงตั้งแต่อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เริ่มเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆดังนี้– เจ้าของผู้จัดหา(Suppliers) ที่ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ลดความสำคัญของช่องการจัดจำหน่ายเดิมและตัวแทนมีการปรับเปลี่ยนราคาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขทางธุรกิจ เช่น การเสนอขายในนาทีสุดท้าย
(Last Minute Offers) เริ่มจัดตั้งพันธมิตร และสนับสนุนการขายตรง เพิ่มการแข่งขันทางด้านราคาและแบ่งแยกราคาขาย
เริ่มปรับกระบวนการเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวใหม่ เช่น การใช้ตั๋วโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ และการเช็คอินอัตโนมัติ– บริษัทจัดการท่องเที่ยว (Tour operators) ใช้เทคโนโลยีของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ระบบ GDS ซึ่งมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าและสร้างตัวเชื่อมประสานโดยตรงกับผู้บริโภคขณะเดียวกันต้องเผชิญกับการจัดโปรแกรมท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ต้องปรับให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของลูกค้า (Mass Customization) – บริษัทเจ้าของระบบ CRS / GDS เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของมูลค่าเพิ่มจากสารสนเทศที่เป็นเจ้าของมากกว่าการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและพยายามเปลี่ยนตำแหน่งทางธุรกิจของตัวเองให้เป็นผู้รวบรวมสินค้าบริการท่องเที่ยวดังนั้น GDS จึงกลายเป็นคู่แข่งโดยตรงกับลูกค้าหลักคือตัวแทนท่องเที่ยว(Travel Agents) กลยุทธ์หลักที่ใช้คือการเชื่อมโยงเว็บไซต์การท่องเที่ยวหลักเพื่อเพิ่มปริมาณการทำธุรกรรม และมุ่งไปยังการขายตรงสำหรับการท่องเที่ยวรายย่อย– ตัวแทนท่องเที่ยว (Travel agents) นำ ICTมาใช้ในการเสนอข้อมูล และบริการที่รวดเร็วให้กับผู้บริโภค ขณะเดียวกันตัวแทนท่องเที่ยวรู้สึกถึงการลดบทบาทของช่องทางการจัดจำหน่าย
แบบเดิม ทำให้ต้องปรับตัวจากตัวกลางมาเป็นที่ปรึกษา โดยเน้นสินค้าบริการท่องเที่ยวที่มีความซับซ้อน ยากที่กท่องเที่ยวจะจัดการด้วยตนเอง– ลูกค้า นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางมีบทบาทมากขึ้นเช่น การทำประมูลย้อนกลับ การซื้อขายตรง การจัดโปรแกรมการเดินทางด้วยตนเอง การเลือกจุดหมายปลายทาง การร้องขอสารสนเทศออนไลน์ เปรียบเทียบราคา จองและซื้อออนไลน์ แลกเปลี่ยนและนำเสนอประสบการณ์ ความคิดเห็น และข้อมูลการท่องเที่ยว ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสัมพันธ์กับตัวกลาง ตัวกลางแบบดั้งเดิมเริ่มตระหนักว่าต้องแข่งขันกับเจ้าของหรือผู้จัดหา ขณะที่ตัวกลางออนไลน์ (e-Intermediaries) มีโอกาสแข่งขันเท่าเทียมกับผู้ขาย เพราะสินค้าและบริการท่องเที่ยวมีความซับซ้อนทำให้ต้องการสารสนเทศมารวมกันและความเชี่ยวชาญซึ่งนักท่องเที่ยวทั่วไปไม่มีผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตในบ่วงโซ่อุปทานสามารถสรุปได้ดังนี้
(Last Minute Offers) เริ่มจัดตั้งพันธมิตร และสนับสนุนการขายตรง เพิ่มการแข่งขันทางด้านราคาและแบ่งแยกราคาขาย
เริ่มปรับกระบวนการเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวใหม่ เช่น การใช้ตั๋วโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ และการเช็คอินอัตโนมัติ– บริษัทจัดการท่องเที่ยว (Tour operators) ใช้เทคโนโลยีของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ระบบ GDS ซึ่งมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าและสร้างตัวเชื่อมประสานโดยตรงกับผู้บริโภคขณะเดียวกันต้องเผชิญกับการจัดโปรแกรมท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่ต้องปรับให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของลูกค้า (Mass Customization) – บริษัทเจ้าของระบบ CRS / GDS เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของมูลค่าเพิ่มจากสารสนเทศที่เป็นเจ้าของมากกว่าการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและพยายามเปลี่ยนตำแหน่งทางธุรกิจของตัวเองให้เป็นผู้รวบรวมสินค้าบริการท่องเที่ยวดังนั้น GDS จึงกลายเป็นคู่แข่งโดยตรงกับลูกค้าหลักคือตัวแทนท่องเที่ยว(Travel Agents) กลยุทธ์หลักที่ใช้คือการเชื่อมโยงเว็บไซต์การท่องเที่ยวหลักเพื่อเพิ่มปริมาณการทำธุรกรรม และมุ่งไปยังการขายตรงสำหรับการท่องเที่ยวรายย่อย– ตัวแทนท่องเที่ยว (Travel agents) นำ ICTมาใช้ในการเสนอข้อมูล และบริการที่รวดเร็วให้กับผู้บริโภค ขณะเดียวกันตัวแทนท่องเที่ยวรู้สึกถึงการลดบทบาทของช่องทางการจัดจำหน่าย
แบบเดิม ทำให้ต้องปรับตัวจากตัวกลางมาเป็นที่ปรึกษา โดยเน้นสินค้าบริการท่องเที่ยวที่มีความซับซ้อน ยากที่กท่องเที่ยวจะจัดการด้วยตนเอง– ลูกค้า นักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางมีบทบาทมากขึ้นเช่น การทำประมูลย้อนกลับ การซื้อขายตรง การจัดโปรแกรมการเดินทางด้วยตนเอง การเลือกจุดหมายปลายทาง การร้องขอสารสนเทศออนไลน์ เปรียบเทียบราคา จองและซื้อออนไลน์ แลกเปลี่ยนและนำเสนอประสบการณ์ ความคิดเห็น และข้อมูลการท่องเที่ยว ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสัมพันธ์กับตัวกลาง ตัวกลางแบบดั้งเดิมเริ่มตระหนักว่าต้องแข่งขันกับเจ้าของหรือผู้จัดหา ขณะที่ตัวกลางออนไลน์ (e-Intermediaries) มีโอกาสแข่งขันเท่าเทียมกับผู้ขาย เพราะสินค้าและบริการท่องเที่ยวมีความซับซ้อนทำให้ต้องการสารสนเทศมารวมกันและความเชี่ยวชาญซึ่งนักท่องเที่ยวทั่วไปไม่มีผลกระทบของการใช้อินเทอร์เน็ตในบ่วงโซ่อุปทานสามารถสรุปได้ดังนี้




การเปลี่ยนแปลงการนำเสนอสินค้าและบริการอินเทอร์เน็ตเป็นที่รวบรวมสารสนเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวยอมรับบริการและการสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ สร้างผู้บริโภคใหม่ที่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนท่องเที่ยวและวางแผนการเดินทางด้วยตนเอง อินเทอร์เน็ตนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ผู้บริโภคขาดความจงรักภักดี นักท่องเที่ยวมีจำนวนมากขึ้นแต่ลดระยะเวลาการท่องเที่ยว อินเทอร์เน็ตช่วยลดเวลาระหว่างการตัดสินใจกับการบริโภค และมีการทำสารสนเทศ (Informationization) ตลอดบ่วงโซ่อุปทาน ซึ่งนำไปสู่กลยุทธ์ต่างๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนจากการใช้ระบบอัตโนมัติในการทำธุรกรรม การให้ลูกค้าเป็นผู้ทำธุรกรรม เช่น การเช็คอินด้วยตนเองของโรงแรมหรือสายการบินข้อมูลของลูกค้าและการขายถูกนำไปใช้สนับสนุนการตลาด เช่น การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) เพื่อการพยากรณ์และการจัดการสินค้าบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า การนำเสนอบริการใหม่ที่เพิ่มคุณภาพให้กับผู้บริโภค การเชื่อมโยงระบบไร้สายที่มีอยู่เข้ากับเว็บไซต์เพื่อให้คำแนะนำกับนักท่องเที่ยวระหว่างการเดินทาง รวมทั้งนักท่องเที่ยว ณ แหล่งท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในบริการและการวางแผน สามารถออกแบบสินค้าและบริการใหม่ โดยการปรับให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า และรวมสินค้าและบริการใหม่เข้าด้วยกันเพื่อตอบสนองมากขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการผลิตจำนวนมากแต่ปรับให้เข้ากับความต้องการ (Mass Customization)
การเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน
ความสำเร็จของการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ส่งมอบบริการที่มีมาตรฐาน คุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนในระยะยาว ปัญหาหลักของการพัฒนาทรัพยากรด้านบุคคลในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ การขาดแคลนกำลังแรงงานที่มีคุณภาพโดยเฉพาะด้านการจัดการ ขาดแคลนผู้สอนและผู้ฝึกสอนที่มีคุณภาพและประสบการณ์ ขาดแคลนวัสดุและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการอบรม บุคลากรไม่สามารถตามทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก รวมทั้งการเกิดช่องว่างระหว่างผลิตภาพในการฝึกอบรมของสถาบันการศึกษากับความต้องการของอุตสาหกรรม ICT เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวน
การจ้างงานรูปแบบการจ้างงาน และประเภทของงานในหลายมิติ เช่น













การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคใหม่ประเทศไทยมีบุคลากรจำนวนมาก
แต่ประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่ได้รับการอบรมมาอย่างดีเพื่อตอบสนองความต้องการของงานที่ใช้ความชำนาญ ความสามารถและระดับการเป็นมืออาชีพที่แตกต่างกัน (Esichaikul & Baum, 1998) ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้รองรับกับรูปแบบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคใหม่ที่มี ICT เป็นแรงขับเคลื่อนจากการศึกษาของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2548) พบว่า บุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังขาดความรู้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้





























ทางธุรกิจและส่วนตัว เช่น

เช่น Microsoft Word , Page Maker


งานสร้างสาระ ข้อมูล เช่น โปรแกรมการสร้างเว็บไซต์ (Dream Weaver, Mambo) การนำเสนอผลงาน (Power Point) การพัฒนาสื่อออนไลน์ (Presenter หรือ Breeze, Camtasia Studio)
การใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ทำงานเฉพาะอย่างแต่ไม่สามารถเปลี่ยนหรือตั้งโปรแกรมให้ทำงานอื่นที่แตกต่างออกไปได้ เช่น โปรแกรมบัญชี (เงินเดือน บัญชีรายรับ-จ่าย บัญชีการเงิน ฯลฯ) โปรแกรมการเงิน โปรแกรมการจอง เช่น การใช้งานระบบ GDS/CRSเป็นต้น
การใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ทำงานเฉพาะอย่างแต่ไม่สามารถเปลี่ยนหรือตั้งโปรแกรมให้ทำงานอื่นที่แตกต่างออกไปได้ เช่น โปรแกรมบัญชี (เงินเดือน บัญชีรายรับ-จ่าย บัญชีการเงิน ฯลฯ) โปรแกรมการเงิน โปรแกรมการจอง เช่น การใช้งานระบบ GDS/CRSเป็นต้น




สรุป
ปัจจุบันการทำธุรกรรมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้มีผลจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นองค์ประกอบหลักในสินค้าบริการท่องเที่ยว เช่น การขนส่ง ที่พักอาศัย แหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งคุณลักษณะของสินค้าบริการท่องเที่ยวที่เหมาะสมต่อการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
ปัจจุบันการทำธุรกรรมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้มีผลจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นองค์ประกอบหลักในสินค้าบริการท่องเที่ยว เช่น การขนส่ง ที่พักอาศัย แหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งคุณลักษณะของสินค้าบริการท่องเที่ยวที่เหมาะสมต่อการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)
การเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และการท่องเที่ยวออนไลน์ ทำให้องค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ รวมทั้งผู้ประกอบการภาคเอกชนต้องพัฒนาเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรม การเปรียบเทียบ เว็บไซต์การท่องเที่ยวหลักของประเทศต่างๆ และเว็บไซต์การท่องเที่ยวของธุรกิจเอกชนในประเทศไทย จะนำไปสู่การหาแนวทางเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ สามารถดึงดูดผู้เยี่ยมชมให้เข้ามาทำธุรกรรม และเพิ่มจำนวนนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร การเปลี่ยนแปลงการนำเสนอสินค้าและบริการ และ การเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ซึ่งนำไปสู่การทำธุรกิจและความต้องการกำลังคนที่แตกต่างจากเดิม ดังนั้นบุคลากรโดยเฉพาะนักศึกษาที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยุคใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น